วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

กฎหมายในชีวิตประจำวัน

 กฎหมาย

    กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้ กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม
 ประเภทของกฎหมาย
     การแบ่งแยกประเภทกฎหมายที่นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภท คือ
  1. การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะแห่งการใช้ เป็นการแบ่งแยกโดยพิจารณาถึงลักษณะการใช้กฎหมายเป็นหลัก ได้แก่
    1.1 กฎหมายสารบัญญัติ 
    1.2 กฎหมายวิธีบัญญัติ 
  2. แบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณี ได้แก่
    2.1 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเอง ซึ่งกำหนดถึงสิทธิและหน้าที่ของแต่ละเอกชน รวมไปถึงสิทธิและหน้าที่ของเอกชนที่มีต่อเอกชนด้วยกันด้วย
    2.2 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
    2.3 กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  และการงดเว้นกระทำการอย่างใดเป็นความผิดอาญา     
 กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว
กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
       1.ชื่อบุคคล เป็นเครื่องบ่งชี้เฉพาะบุคคล ประกอบด้วยชื่อตัว ชื่อรอง  และชื่อ
     2. การตั้งชื่อตัว และชื่อรองมีหลักเกณฑ์ คือ
           - ต้องไม่พ้องให้คล้ายปรมาภิไธยพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
     3. การเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง มีหลักเกณฑ์ คือ
           - มีเหตุผลไม่เป็นไปเพื่อการทุจริตถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล
      4. การตั้งชื่อสกุล มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
           - ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายพระปรมาภิไธยพระนามพระราชิน
      5. การขอร่วมชื่อสกุล
           - ผู้เป็นเจ้าของชื่อสกุลเท่านั้นมีสิทธิ์ขอให้มีการร่วมใช้ชื่อสกุลได้ทายาทไม่มีสิทธิ์
           - เจ้าของชื่อสกุลคนแรกยื่นคำร้องพร้อมหนังสือสำคัญการจดทะเบียนตั้งชื่อสกุล 
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
   การหมั้น  การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้วผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา
      บิดามารดากับบุตร
บุตรชอบด้วยกฎหมาย  กรณีที่เกิดปัญหามีเฉพาะว่าบุตรที่เกิดมาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาหรือไม่ ซึ่งจะมีผลไปถึงอำนาจปกครองของบิดา ค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูและการรับมรดกส่วนมรดกนั้นไม่มีปัญหา
        การย้ายที่อยู่   เมื่อย้ายที่อยู่ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งดังต่อไปนี้
       (1)   เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้านให้แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน
       (2)   เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่บ้านให้แจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างเสร็จ 
• กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา
      การมีเพียงกฎหมายรับรองสภาพบุคคล  ซึ่งบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินและในครอบครัวของบุคคลถือว่ายังไม่ครบถ้วน  เพราะยังขาดเครื่องมือที่จะทำให้บุคคลทำการเปลี่ยนแปลงสิทธิของตน นิติกรรมสัญญาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2  ประเภท ได้แก่
     1. นิติกรรมฝ่ายเดียว  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและ
มีผลตามกฎหมาย  ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้  เช่น  การก่อตั้งมูลนิธิ การรับสภาพหนี้  การผ่อนเวลาชำระให้ลูกหนี้ 
     2. นิติกรรมสองฝ่าย  ได้แก่  นิติกรรมซึ่งเกิดโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต่างตกลงยินยอมระหว่างกัน ฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นนำเสนอ  แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเป็นคำสนองเมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกัน  เรียกกันว่า สัญญา  เช่น  สัญญาซื้อขาย  สัญญากู้ยืม  เป็นต้น
 กฎหมายอาญา
       กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดเรื่องความผิด   และบทลงโทษไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ
 เพราะรัฐมีหน้าที่รักษาความสงบของบ้านเมือง กฎหมายอาญามีลักษณะที่สำคัญ  2 ส่วนคือ
      1. ส่วนที่บัญญัติถึงความผิด  หมายความว่าได้บัญญัติถึงการกระทำ  และการงดเว้นกระทำการอย่างใดเป็นความผิดอาญา    
      2. ส่วนที่บัญญัติถึงโทษ หมายความว่าบทบัญญัตินั้น ๆ นอกจากจะได้ระบุว่าการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้ว  ต้องกำหนดโทษอาญาสำหรับความผิดนั้น ๆ ไว้ด้วย 

 กฎหมายอื่นที่ควรรู้
     1. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร การรับราชการทหารเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของประชาชนชาวไทย พระราชบัญญัติรับราชกาทหารกำหนดชายผู้มีสัญชาติไทยมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองโดยจะต้องไปขึ้นบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุ 18 ปี ยกเว้นสามเณรที่สอบเปรียญได้แล้ว
    2. กฎหมายเกี่ยวกับภาษี 
       ภาษี  คือเงินที่รัฐต้องรวมท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมายอำนาจรัฐเรียกว่าเก็บจากบุคคล เพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศหรือท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้ทำประโยชน์แก่ชุมชนเป็นส่วนรวมต่อไป
       2.1 ภาษีเงินได้  คือ  ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด 
       2.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล  เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร จักเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  
        2.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าและรับบริการโดยคำนวณเก็บจากผู้ซื้อสินค้าและบริการโดยคำนวณเก็บจากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่าย  หรือการให้บริการ
        2.4 ภาษีบำรุงท้องที่   เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินตามราคาปกติปานกลางที่ดินและตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่  โดยที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
       2.5  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ตามพระราชบัญญัติโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เจ้าของกรรมสิทธิ์นอสังหาริมทรัพย์ดังต่อไปนี้ที่ได้นำอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติ 
    3. กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
        1)  สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ           2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการโดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า          3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การ         4) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
 กฎหมายระหว่างประเทศที่ควรรู้
      กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  เริ่มต้นจากความพยายามของนายอังรีดูนังต์ และคณะที่จะหาทางลดภาวะทุกข์ทรมานอันน่าสะพรึงกลัวที่เกิดกับทหารและพลเรือน จากการสู้รบระหว่างคู่สงคราม
      กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าเด็กและผู้หญิงและเด็กได้รับการตระหนักจากประชาคมโลกว่าเป็นอาชญากรรมที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจและได้กระทำกันอย่างกว้างขวางจนกลายเป็นขบวนการเชื่อมโยงทั้งในและนอกประเทศ 
      กฎหมายการให้ความคุ้มครองแก่คนชาติ   กฎหมายระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวการให้ความคุ้มครองต่อผู้มีสัญชาติของรัฐ เป็นกฎหมายที่ใช้ควบคุมและคุ้มครองคนชาติหรือผู้ที่มีสัญชาติของรัฐ ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 
     กฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน วิธีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นวิธีการที่รัฐต่าง ๆ ได้ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และนับว่าเป็นการแสดงความร่วมมือระหว่างรัฐในการจัดการกับผู้กระทำความผิดที่พยายามหลบหนีให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมวิธีหนึ่งนอกเหนือไปจากการให้ความร่วมมือด้านอื่น ๆ 
กฎหมายแรงงานระหว่างประเทศ  กฎหมายแรงงาน ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงาน ค่าจ้างและผลประโยชน์ต่างๆในการทำงาน และเป็นหลักประกันเมื่อมีการประสบภัยจากการทำงานหรือการว่างงาน รวมทั้งเป็นการระงับความขัดแย้งระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง
กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เป็นสาขาหนึ่งที่ได้ความคุมการทำงานของรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และพัฒนาสิ่งล้อมอย่างยั่งยืน